วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย

ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย ,การคุกคามต่อข้อมูลในเครือข่าย
1. เกิดจากคอมพิวเตอร์เสียหาย สาเหตุหลักที่ทำให้ข้อมูลสูญหายส่วนใหญ่เกิดจากอุปกรณ์ (Hardware) ในการเก็บข้อมูลนั่นเอง
2. ไม่ได้รับการอบรมในการใช้ เพราะผู้ใช้ไม่ทราบถึงระบบการใช้งานจริงก่อนมีการใช้ เมื่อใช้จึงปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงเกิดความเสียหายกับข้อมูลได้
3. อุบัติเหตุ เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหา ผู้ใช้มักจะลบบางไฟล์ทิ้ง ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทำให้ข้อมูลนั้นเกิดสูญหายไป
4. ไฟไหม้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะสูญหายหมด รวมทั้งข้อมูลในคอมพิวเตอร์ด้วย
5. ภัยธรรมชาติ ภัยธรรมชาติก็นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอีกประเภทหนึ่งที่สามารถทำลายคอมพิวเตอร์และข้อมูลในเครือข่ายทั้งหมดในทันที

การป้องกันข้อมูลในเครือข่าย

1. กำแพงไฟ (Firewall ) กำแพงไฟเป็นซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์พิเศษที่ถูกออกแบบมาสำหรับทำหน้าที่ป้องกันผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิบุกรุกเข้ามาในเครือข่ายได้
2. รหัสผ่าน (Password) คือ ต้องป้อนบัญชีสมาชิกของผู้ใช้และรหัสผ่านเสียก่อน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้ใช้คนนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แค่ไหน แต่ระบบป้องกันโดยใช้บัญชีสมาชิกและรหัสผ่านนั้นอาจจะหละหลวมได้ เพราะผู้ใช้ที่เป็นผู้ไม่ได้รับอนุญาตใช้เทคนิคการเดารหัสผ่านโดยสุ่มจากเรื่องใกล้ตัว ดังนั้นผู้ตั้งรหัสควรที่ตั้งให้ยาก และเรื่องไกลตัวด้วย
3. การสำรองข้อมูลในเครือข่าย (Back up) คือการเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่ายนั้น ๆ

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic mail : e-mail ) เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งข้อความในรูปแบบของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่นโดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูป e-mail addres
ไปรษณีย์เสียง (Voice mail ) เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของเสียงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียงจะถูกส่งผ่านสื่อและนำไปเก็บไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงจนกว่าจะมีการเปิดฟัง
โทรสาร (Facsimile or Fax) เป็นการส่งข้อความที่เป็นหน้ากระดาษ จากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับโทรสาร สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลได้เช่นเดียวกับเครื่องโทรสาร โดยจะต้องมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน
Video conferencing เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียง จากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้
Global Positioning System (GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน ! หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบโดยใช้ดาวเทียม ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบิน และเริ่มพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ปลายทาง
ในเชิงเทคนิคแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ปลายทาง ไม่จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายแต่เป็นส่วนของผู้ใช้งานปลายทาง (end users) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดหรือปลายทางสุดที่รับข้อมูเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายมีตั้งแต่ระบบเมนเฟรมขนาดใหญ่ไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
อุปกรณ์ปลายทาง (Terminal) มีตั้งแต่อุปกรณ์แบบ asynchronous ซึ่งส่งข้อมูลทีละคาแรกเตอร์ไปจนถึงอุปกรณ์แบบ synchronous ซึ่งส่งข้อมูลเป็นบล็อคไปที่เครื่องเวอร์คสเตชันอาร์เจอี (Remote Job Entry) เครื่องเวอร์คสเตชันอาร์เจอี ทำหน้าที่ส่ง บล็อคข้อมูลเป็นกลุ่มในลักษณะ Batch ผ่านเครือข่าย
อุปกรณ์ควบคุมการสื่อสาร (Communications Controllers) การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผ่านระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบส่งสัญญาณฮาร์ดแวร์ควบคุมนี้อาจถูกออกแบบให้ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น NIC (Network Interface Card)หรือเป็นลักษณะติดตั้งภายนอก เช่น FEP (Front-End Processors) เป็นต้น
ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facilities) ข้อมูลจะถูกส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านสื่อหรือสายสัญญาณสื่อสาร (transmission facilities)สื่อส่งสัญญาณที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปเช่น
- สายเกลียวคู่ (Twisted-pair Wires)
- สายโคแอกซ์ (Coaxial-Cable)
- เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-Optic Cable)
- ระบบไมโครเวฟ (Microwave Facilities)
- สัญญาณดาวเทียม (Satellite Link)
สื่อแต่ละแบบก็จะมีคุณลักษณะและการทำงานแตกต่างกันไป สายส่งบางชนิดเหมาะกับการเชื่อมโยงระยะทางไกล เช่นระบบ WAN แต่บางชนิดก็เหมาะกับการเชื่อมโยงกันในระยะสั้น ผู้ให้บริการระบบการส่งสัญญาณในเครือข่าย WAN ในประเทศไทย เช่น องค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทยสำหรับในต่างประเทศ ก็มี บริษัท AT&T, บริษัท MCI เป็นต้น ซึ่งเราเรียกผู้ให้บริการเหล่านี้ว่าcarrier การขอเช่าใช้ระบบเครือข่ายจาก carrier อาจจะทำการเช่าในลักษณะเป็นวงจรเช่าเฉพาะ (leased-line)หรือลักษณะแชร์ช่องสัญญาณแบบสลับสาย (Switched Line) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานและงบประมาณการใช้จ่าย ระบบวงจรเช่าเฉพาะ (Leased-Line) ผู้เช่าจะได้รับสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในลักษณะต่อตรงและอย่างถาวร ขณะที่ระบบสลับสาย (Switched-Line)จะผ่านเครือข่ายเช่น เครือข่ายโทรศัพท์ปกติ (Dial-up Telephone Network)ซึ่งจะถูกเชื่อมต่อเมื่อมีการเรียกเท่านั้น จึงเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว

ไม่มีความคิดเห็น: