ARCnet
เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Data Point ประมาณปี 1977 ( Attached ARCnet Resource Computing Network) ใช้หลัการออกแบบ "Transmission Permission" ในการส่งข้อมูล จำมีการกำหนดตำแน่งแอดเดรสของเครื่องเวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพียง 2.5 Mbps (2.5 เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก Ethernet เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยปริษัท Xerox ประมาณปี 1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD ( Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อมกันย่อมจะเกิดการชนกันของข้อมูล (Collision) ของสัญญาณทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CS จะใช้หลักการวิธีของ Listen vefore-Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าในขณะนั้นมีการ รับ - ส่ง ข้องข้อมูลในเน็ทเวิร์กนั้นหรือไม่ ถ้ามีการชนกันของข้อมูล ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลนั้นจะว่างแล้วจึงทำการส่งข้อมูลนั้นออกไปบนสายเคเบิ้ลโพรโตคอล IP เหมาะกับเครือข่ายใดบ้าง TCP/IP หลายเทคโนโลยีที่เราท่านใช้อยู่ทั่วไปมีจุดกำเนิดจากเทคโนโลยีการสงคราม IP เน็ตเวิร์กก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อครั้งสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต กระทรวงกลาโหมภายใต้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จ้างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทนต่อความล้มเหลว (ด้วยระเบิดนิวเคลียร์) สิ่งที่ได้คือโพรโตคอล TCP/IP เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรโตคอลนี้เรียกสั้น ๆ ว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) คือชุดของโพรโตคอลที่รวมกันเป็นกลุ่มให้ใช้งานเช่น Internet Protocol (IP) , Address Resolution Protocol (ARP), Internet Control Message Protocol (ICMP), User Datagram Protocol (UDP) ฯลฯ แต่โพรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Protocal (IP) โดยมีหลักการทำงานคือ แบ่งเนื้อข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่าแพ็กเก็ตส่งแพ็กเก็ตไปยังเส้นทางที่เหมาะสมเป็นทอดจนกว่าจะถึงปลายทาง แต่ละแพ็กเก็ตอาจใช้เส้นทางคนละทิศขึ้นกับการพิจารณาของเราเตอร์ในช่วงต่าง ๆ หากเกิดข้อผิดพลาด ณ ช่วงการส่งใด เราเตอร์ที่รับผิดชอบการส่งช่วงนั้นจะจัดส่งแพ็กเก็ตชิ้นนั้นใหม่โดยอัตโนมัติ เมื่อถึงจุดหมายระบบปลายทางจะรวบรวมแพ็กเก็ตกลับให้เป็นเนื้อข้อมูลดังเดิม ซึ่งถ้าจะว่ากันตามทฤษฏีแล้ว TCP/IP นั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วนด้วยกันก็คือ TCP หรือ Transmission Control Protocol และอีกส่วนก็คือ IP หรือ Internet Protocol นั่นเอง การแบ่งลักษณะในการทำงานก็จะแบ่งเป็น TCP มีหน้าที่ในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้รับ และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ส่ง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องPeer to Peerระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB ข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ Client / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่าย คือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้นข้อดีของการต่อแบบ Client / Server สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้ มีระบบ Security ที่ดีมาก* รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง P2P Power P2P หรือเต็มๆ Peer to Peer อาจจะมีคำอื่นอีกเช่น People to People ,Point to Point ซึ่งมีความหายคล้ายคลึงกัน Peer to Peer คือ ...
- ระบบที่อนุญาติให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
- ระบบการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตรง ฯลฯแต่เดิมนั้นเมื่อเราต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากแม่ข่ายโดยใช้ FTP*,HTTP** นั้นหากมีคนที่ต้องการไฟล์เดียวกับเรา 500 คนมาดาวน์โหลดบนแม่ข่ายเดียวกันพร้อมๆ กันโดยแต่ละคนมี Bandwidth คนละ 256kbps ถ้าจะให้ทุกคนนั้นได้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดตัวแม่ข่ายจะต้องมี Bandwidth เท่ากับ 256kbps * 500 (125mbit) เลยทีเดียวซึ่งไม่ใช่เพียงแต่จะเปลือง Bandwidth เท่านั้น แต่ยังจะต้องใช้แม่ข่ายที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยจากปัญหาดังกล่าวนี้เองทำให้โปรแกรมแชร์ไฟล์ P2P ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของแม่ข่ายให้น้อยลงนั้นเอง ระบบ P2P นั้นถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยที่ไม่พึ่งแม่ข่ายในการแจกจ่ายไฟล์และทำให้สามารถหาไฟล์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
**HTTP = Hypertext Transfer Protocal
จากความหมายนี้เองทำให้เราเรียกโปรแกรมที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยไม่ได้ร้องขอไฟล์จากแม่ข่ายว่า "P2P File Sharing" โปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายตัวด้วยกัน เช่น Emule, Kazaa, Edonkey ฯลฯ หลักการทำงานคร่าวๆ ของโปรแกรมก็คือ
1.เชื่อมต่อไปยังแม่ข่ายเพื่อยืนยันตัวตนและส่งสารบัญไฟล์ที่เราแชร์ไว้ไปด้วย
2.หากเราต้องการหาไฟล์สักไฟล์หนึ่งเมื่อเราระบุ Keyword** โปรแกรมจะส่งคำร้องไปยังแม่ข่ายจากนั้นแม่ข่ายจะส่งรายชื่อไฟล์พร้อมข้อมูลตัวตนของคนที่มีไฟล์ที่ตรงกับ Keyword ที่เราระบุกลับมา
3. เมื่อเราพบไฟล์ที่ต้องการแล้วตัวโปรแกรมจะใช้ข้อมูลที่ได้จากแม่ข่ายติดต่อไปยังคนนั้นๆโดยตรงเพื่อร้องขอไฟล์จากการทำงานจะเห็นได้ว่าตัวแม่ข่ายนั้นไม่ได้เป็นคนเก็บไฟล์จริงๆไว้เพียงแต่เก็บเป็นสารบัญไว้เท่านั้นเครื่องบริการ (Server) Web server คือ บริการ HTTP (HyperText Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.thaiall.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอจาก web browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Microsoft web server DNS server คืออะไร Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ FTP server FTP(File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP มี 2 mode
1. FTP standard mode คือ การเชื่อมต่อที่ server เชื่อมต่อกับ client ผ่าน port 20 เป็น Out going port ส่วน port ฝั่ง client จะแล้วแต่ตกลงกัน แต่ถ้า client มี firewall ที่ไม่บริการ ftp ก็จะติดต่อไม่ได้
2. FTP passive mode คือ การเชื่อมต่อที่ client เป็นผู้เชื่อมต่อไปยัง server เพื่อใช้หมายเลข port ที่แล้วแต่จะตกลงในการส่งข้อมูล Mail server คือ เครื่องบริการรับ-ส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาย ส่ง attach file หรือการมี address book เป็นต้น ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น hotmail.com หรือ thaimail.com เป็นต้น SMTP server คืออะไร Simple mail transfer protocol server คือเครื่องบริการส่ง e-mail ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ สำหรับ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนในโลกใบนี้มาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากเครื่องของท่านบริการ SMTP แก่คนนอก แสดงว่าไม่ได้กำหนด RELAY ไว้ เพราะชาวโลกอาจใช้เครื่องมือค้นหา "OPEN RELAY" แล้วพบว่าเครื่องของท่านเป็นเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ทำ RELAY ไว้ก็ได้ และที่อันตรายคือ อาจมีชาวโลกบางคนใช้โปรแกรม MOBI+ กำหนดให้เครื่อง SMTP ของท่าน bomb mail ไปยัง mail box ของเป้าหมาย และหมายเลขเครื่องที่โจมตี ก็คือ เครื่อง SMTP ของท่านนั่นเอง POP server คืออะไร Post office protocol server คือบริการรับ-ส่งเมล จาก mail server กับเครื่องของสมาชิก บริการนี้ ทำให้สามารถอ่าน mail ด้วยมือถือ หรือ PDA แต่ถ้าท่านใช้ mail ของ thaimail.com จะเป็น web-based mail ที่เปิดอ่าน e-mail ได้จาก web เท่านั้น จะเปิดด้วย outlook หรือ pda ไม่ได้ Database server คือ เครื่องบริการข้อมูล ที่เปิดให้ผู้ใช้เพิ่มข้อมูล ลบ หรือแก้ไข สำหรับโปรแกรมบริการระบบฐานข้อมูลที่นิยมใช้ ได้แก่ MYSQL หรือ Microsoft Access เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องเขียนโปรแกรมสั่งประมวลผล ปรับปรุงข้อมูล หรือนำข้อมูลในส่วนที่ตนเองมีสิทธิ์ ไปใช้ตามต้องการ Proxy หรือ NAT server พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์(Proxy server)คือ เครื่องที่อยู่ตรงกลางระหว่างเครื่องลูกกับอินเทอร์เน็ต เพราะเครื่องลูกในเครือข่ายทั้งหมดจะไม่ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง เมื่อเครื่องลูกเรียกดูข้อมูล จะส่งคำขอให้เครื่อง Proxy server และค้นหาข้อมูลนั้นใน เครื่อง Proxy server ว่ามีหรือไม่ หากมีก็จะส่งกลับไปให้เครื่องลูก โดยไม่ออกไปหาจากแหล่งข้อมูลจริง เพราะข้อมูลนั้นถูกเก็บในหน่วยความจำของเครื่อง Proxy server แล้ว จึงเป็นการลดภาระของระบบเครือข่าย ที่จะออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น จะเห็นว่า Proxy server ทำหน้าที่เป็น Cache server ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ผู้ใช้เคยร้องขอ หากมีการร้องขอข้อมูลที่ไม่มีใน proxy ก็จะออกไปหาในอินเทอร์เน็ต แล้วนำกลับมาเก็บใน cache เมื่อผู้ใช้ท่านอื่นต้องการ ก็จะนำจาก cache ไปใช้ได้ทันที สำหรับ Proxy server ที่นิยมใช้ใน Linux เช่น Squid มักให้บริการที่ port 3128 เป็นต้น Proxy server คือ เครื่องบริการที่ทำหน้าที่แปลง address ของเครื่องต้นทางเมื่อมี package ส่งไปยัง local host หรือแปลง address ปลายทาง เมื่อมี package ส่งไปยัง localhost โดยลักษณะที่ชัดเจนของ proxy server คือการทำ caching ทำให้ local host เข้าถึงข้อมูล ซ้ำ ๆ กันได้โดยตรงจากเครื่องบริการ ใน local network ไม่ต้องออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น NAT (Network Address Translation) คือ คุณสมบัติหนึ่งของการแจก IP หรือการทำ IP Sharing เพราะในเครือข่ายขนาดใหญ่จะใช้ Local IP หรือ Fake IP แต่จะมี Real IP อยู่บางส่วน โปรแกรมเครื่องบริการบางโปรแกรมมีหน้าที่กำหนด Local IP ให้เครื่องลูก เมื่อเครื่องลูกต้องการออกไปอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ก็จะใช้ Real IP ออกไป จากลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เครื่องที่เป็น NAT server ทำหน้าที่เป็น Firewall ปกป้องเครื่องลูก เพราะจะไม่มีใครทราบ Local IP ของเครื่องในองค์กรได้ เนื่องจากการออกไปสู่อินเทอร์เน็ตจะใช้ IP ของ NAT server เสมอ จึงไม่มีใครเจาะเข้าสู่เครื่องลูกได้โดยตรง การเป็น NAT server อาจไม่จำเป็นต้องใช้คุณสมบัติ Cache server ก็ได้ เพราะเครื่องที่เป็น Proxy server ที่มีศักยภาพต่ำ จะล่มได้เร็วกว่าเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น NAT เพียงอย่างเดียว สำหรับโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น NAT server เช่น WinGate, WinRoute, WinProxy หรือ ICS(Internet Connection Sharing) เป็นต้น
- ระบบที่อนุญาติให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
- ระบบการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตรง ฯลฯแต่เดิมนั้นเมื่อเราต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากแม่ข่ายโดยใช้ FTP*,HTTP** นั้นหากมีคนที่ต้องการไฟล์เดียวกับเรา 500 คนมาดาวน์โหลดบนแม่ข่ายเดียวกันพร้อมๆ กันโดยแต่ละคนมี Bandwidth คนละ 256kbps ถ้าจะให้ทุกคนนั้นได้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดตัวแม่ข่ายจะต้องมี Bandwidth เท่ากับ 256kbps * 500 (125mbit) เลยทีเดียวซึ่งไม่ใช่เพียงแต่จะเปลือง Bandwidth เท่านั้น แต่ยังจะต้องใช้แม่ข่ายที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยจากปัญหาดังกล่าวนี้เองทำให้โปรแกรมแชร์ไฟล์ P2P ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของแม่ข่ายให้น้อยลงนั้นเอง ระบบ P2P นั้นถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยที่ไม่พึ่งแม่ข่ายในการแจกจ่ายไฟล์และทำให้สามารถหาไฟล์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
*FTP = File Transfer Protocal
**HTTP = Hypertext Transfer Protocal
จากความหมายนี้เองทำให้เราเรียกโปรแกรมที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยไม่ได้ร้องขอไฟล์จากแม่ข่ายว่า "P2P File Sharing" โปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายตัวด้วยกัน เช่น Emule, Kazaa, Edonkey ฯลฯ หลักการทำงานคร่าวๆ ของโปรแกรมก็คือ
1.เชื่อมต่อไปยังแม่ข่ายเพื่อยืนยันตัวตนและส่งสารบัญไฟล์ที่เราแชร์ไว้ไปด้วย
2.หากเราต้องการหาไฟล์สักไฟล์หนึ่งเมื่อเราระบุ Keyword** โปรแกรมจะส่งคำร้องไปยังแม่ข่ายจากนั้นแม่ข่ายจะส่งรายชื่อไฟล์พร้อมข้อมูลตัวตนของคนที่มีไฟล์ที่ตรงกับ Keyword ที่เราระบุกลับมา
3. เมื่อเราพบไฟล์ที่ต้องการแล้วตัวโปรแกรมจะใช้ข้อมูลที่ได้จากแม่ข่ายติดต่อไปยังคนนั้นๆโดยตรงเพื่อร้องขอไฟล์จากการทำงานจะเห็นได้ว่าตัวแม่ข่ายนั้นไม่ได้เป็นคนเก็บไฟล์จริงๆไว้เพียงแต่เก็บเป็นสารบัญไว้เท่านั้นเครื่องบริการ (Server) Web server คือ บริการ HTTP (HyperText Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.thaiall.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอจาก web browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Microsoft web server DNS server คืออะไร Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ FTP server FTP(File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP มี 2 mode
1. FTP standard mode คือ การเชื่อมต่อที่ server เชื่อมต่อกับ client ผ่าน port 20 เป็น Out going port ส่วน port ฝั่ง client จะแล้วแต่ตกลงกัน แต่ถ้า client มี firewall ที่ไม่บริการ ftp ก็จะติดต่อไม่ได้
2. FTP passive mode คือ การเชื่อมต่อที่ client เป็นผู้เชื่อมต่อไปยัง server เพื่อใช้หมายเลข port ที่แล้วแต่จะตกลงในการส่งข้อมูล Mail server คือ เครื่องบริการรับ-ส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาย ส่ง attach file หรือการมี address book เป็นต้น ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น hotmail.com หรือ thaimail.com เป็นต้น SMTP server คืออะไร Simple mail transfer protocol server คือเครื่องบริการส่ง e-mail ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ สำหรับ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนในโลกใบนี้มาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากเครื่องของท่านบริการ SMTP แก่คนนอก แสดงว่าไม่ได้กำหนด RELAY ไว้ เพราะชาวโลกอาจใช้เครื่องมือค้นหา "OPEN RELAY" แล้วพบว่าเครื่องของท่านเป็นเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ทำ RELAY ไว้ก็ได้ และที่อันตรายคือ อาจมีชาวโลกบางคนใช้โปรแกรม MOBI+ กำหนดให้เครื่อง SMTP ของท่าน bomb mail ไปยัง mail box ของเป้าหมาย และหมายเลขเครื่องที่โจมตี ก็คือ เครื่อง SMTP ของท่านนั่นเอง POP server คืออะไร Post office protocol server คือบริการรับ-ส่งเมล จาก mail server กับเครื่องของสมาชิก บริการนี้ ทำให้สามารถอ่าน mail ด้วยมือถือ หรือ PDA แต่ถ้าท่านใช้ mail ของ thaimail.com จะเป็น web-based mail ที่เปิดอ่าน e-mail ได้จาก web เท่านั้น จะเปิดด้วย outlook หรือ pda ไม่ได้ Database server คือ เครื่องบริการข้อมูล ที่เปิดให้ผู้ใช้เพิ่มข้อมูล ลบ หรือแก้ไข สำหรับโปรแกรมบริการระบบฐานข้อมูลที่นิยมใช้ ได้แก่ MYSQL หรือ Microsoft Access เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องเขียนโปรแกรมสั่งประมวลผล ปรับปรุงข้อมูล หรือนำข้อมูลในส่วนที่ตนเองมีสิทธิ์ ไปใช้ตามต้องการ Proxy หรือ NAT server พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์(Proxy server)คือ เครื่องที่อยู่ตรงกลางระหว่างเครื่องลูกกับอินเทอร์เน็ต เพราะเครื่องลูกในเครือข่ายทั้งหมดจะไม่ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง เมื่อเครื่องลูกเรียกดูข้อมูล จะส่งคำขอให้เครื่อง Proxy server และค้นหาข้อมูลนั้นใน เครื่อง Proxy server ว่ามีหรือไม่ หากมีก็จะส่งกลับไปให้เครื่องลูก โดยไม่ออกไปหาจากแหล่งข้อมูลจริง เพราะข้อมูลนั้นถูกเก็บในหน่วยความจำของเครื่อง Proxy server แล้ว จึงเป็นการลดภาระของระบบเครือข่าย ที่จะออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น จะเห็นว่า Proxy server ทำหน้าที่เป็น Cache server ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ผู้ใช้เคยร้องขอ หากมีการร้องขอข้อมูลที่ไม่มีใน proxy ก็จะออกไปหาในอินเทอร์เน็ต แล้วนำกลับมาเก็บใน cache เมื่อผู้ใช้ท่านอื่นต้องการ ก็จะนำจาก cache ไปใช้ได้ทันที สำหรับ Proxy server ที่นิยมใช้ใน Linux เช่น Squid มักให้บริการที่ port 3128 เป็นต้น Proxy server คือ เครื่องบริการที่ทำหน้าที่แปลง address ของเครื่องต้นทางเมื่อมี package ส่งไปยัง local host หรือแปลง address ปลายทาง เมื่อมี package ส่งไปยัง localhost โดยลักษณะที่ชัดเจนของ proxy server คือการทำ caching ทำให้ local host เข้าถึงข้อมูล ซ้ำ ๆ กันได้โดยตรงจากเครื่องบริการ ใน local network ไม่ต้องออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น NAT (Network Address Translation) คือ คุณสมบัติหนึ่งของการแจก IP หรือการทำ IP Sharing เพราะในเครือข่ายขนาดใหญ่จะใช้ Local IP หรือ Fake IP แต่จะมี Real IP อยู่บางส่วน โปรแกรมเครื่องบริการบางโปรแกรมมีหน้าที่กำหนด Local IP ให้เครื่องลูก เมื่อเครื่องลูกต้องการออกไปอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ก็จะใช้ Real IP ออกไป จากลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เครื่องที่เป็น NAT server ทำหน้าที่เป็น Firewall ปกป้องเครื่องลูก เพราะจะไม่มีใครทราบ Local IP ของเครื่องในองค์กรได้ เนื่องจากการออกไปสู่อินเทอร์เน็ตจะใช้ IP ของ NAT server เสมอ จึงไม่มีใครเจาะเข้าสู่เครื่องลูกได้โดยตรง การเป็น NAT server อาจไม่จำเป็นต้องใช้คุณสมบัติ Cache server ก็ได้ เพราะเครื่องที่เป็น Proxy server ที่มีศักยภาพต่ำ จะล่มได้เร็วกว่าเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น NAT เพียงอย่างเดียว สำหรับโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น NAT server เช่น WinGate, WinRoute, WinProxy หรือ ICS(Internet Connection Sharing) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น